บริการตรวจสอบพร้อมทดสอบระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
(Preventive Maintenance Fire Alarm System )

โดยมีขั้นตอนการตรวจทดสอบดังนี้
1. ตู้ควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Control Panel)

1.1 การตรวจสอบสภาพ (Checking) ของตู้ควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

  • ตรวจสอบสภาพโดยรวมทั้งภายนอกและภายในตู้ (Housing)
  • ตรวจสอบสายที่เชื่อมต่อ (Wiring) อยู่ภายในตู้
  • ตรวจสอบสภาพบอร์ดควบคุม (Control Board) และการ์ดส่วนติดต่อ (Interface Card)
  • ตรวจสอบขั้วต่อ (Terminal Strip) บอร์ดควบคุม (Control Board) และการ์ด (Card)
  • ตรวจสอบหม้อแปลงจ่ายไฟ (Transformer Power Supply)
  • ตรวจสอบแรงดันไฟเมน (Transformer) และแรงดันไฟจากแบตเตอรี่
  • ตรวจสอบสภาพโดยรวมของแบตเตอร์รี่ (Battery) และตรวจขั้วแบตเตอรี่
  • ตรวจสอบสภาพหน้าจอแสดงผล (LCD Display) กับแป้นควบคุม และสวิทซ์ปุ่มกด (Keypad)
  • ตรวจสอบหลอดดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) การแจ้งเตือนต่างๆ
  • ตรวจสอบฟังก์ชั่น (Function) การควบคุม (Controller) และ การสั่งงาน (Relay) ต่างๆ

1.2 การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับตู้ควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม

  • ทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอกตู้
  • ทำความสะอาดหน้าจอแสดงผล (LCD Display) กับแป้นควบคุม (Keypad)
  • ทำความสะอาดบอร์ดควบคุม (Control Board) และการ์ด (Card) ต่างๆ
  • ตรวจสอบและขันน๊อต Terminal Strip เข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น
  • จัดเรียงสายไฟภายในตู้ให้เรียบร้อย

1.3 ทดสอบการทำงาน (Testing) ของตู้ควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

  • ทดสอบการทำงานของหน้าจอแสดงผล (LCD Display) กับแป้นควบคุม (Keypad)
  • ทดสอบการทำงานของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) การแจ้งเตือนต่างๆ
  • ทดสอบระบบการตรวจสอบด้วยตัวเอง (Supervisory)
  • ทดสอบการแจ้งข้อผิดพลาดของระบบ (Trouble)
  • ทดสอบการเรียกดูเหตุการณ์ที่ผ่านมาในระบบ (History Events)
  • ทดสอบการจ่ายไฟของแบตเตอร์รี่ และการชาร์จไฟ (Recharge Battery) อัดเข้าไปใหม่
  • ทดสอบระบบการรับสัญญาณแจ้งเตือนจากอุปกรณ์จับสัญญาณ (Signal Initiating Devices)
  • ทดสอบระบบการส่งสัญญาณไปสั่งงานอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm Devices)
  • ทดสอบกดสวิทซ์ปุ่มกดหยุดเสียงแจ้งเตือน (Acknowledge) ที่ตู้ควบคุม
  • ทดสอบกดสวิทซ์ปุ่มกดการคืนค่าระบบ (Reset) ที่ตู้ควบคุม

2. อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ทุกแบบ ทุกชนิด

2.1 การตรวจทดสอบสภาพ (Checking & Testing) ของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน ทุกแบบ ทุกชนิด

  • ตรวจทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยสเปรย์ควันเทียม (Smoke Tester)
  • ตรวจทดสอบการทำงานของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ในการแจ้งเตือน
  • ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทดสอบด้วยสเปรย์ควันเทียม
  • ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทำให้เกิดข้อผิดพลาดของระบบ (Trouble)
  • ตรวจทดสอบสภาพโดยรวมทั้งส่วนหัว (Head) และฐานรอง (Base) ของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน
  • ตรวจทดสอบสายที่เชื่อมต่อ (Wiring) ตรงขั้วต่อ (Terminal Strip) บนฐานรอง (Base)
  • ตรวจทดสอบหลอดดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ที่ตรงส่วนหัว (Head)

2.2 การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์ตรวจจับควัน ทุกแบบ ทุกชนิด

  • ทำความสะอาด ส่วนหัว (Head) และฐานรอง (Base) ของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน
  • ทำความสะอาด และขันน็อต Terminal Strip เข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น

3. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ทุกแบบ ทุกชนิด

3.1 การตรวจทดสอบสภาพ (Checking & Testing) ของ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ทุกแบบ ทุกชนิด

  • ตรวจทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ด้วยเครื่องเป่าลมร้อน (Heat Tester)
  • ตรวจทดสอบการทำงานของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ในการแจ้งเตือน
  • ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทดสอบด้วยเครื่องเป่าลมร้อน
  • ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทำให้เกิดข้อผิดพลาดของระบบ (Trouble)
  • ตรวจทดสอบสภาพโดยรวมทั้งส่วนหัว (Head) และฐานรอง (Base) ของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
  • ตตรวจทดสอบสายที่เชื่อมต่อ (Wiring) ตรงขั้วต่อ (Terminal Strip) บนฐานรอง (Base)
  • เช็คหลอดดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ที่ตรงส่วนหัว (Head)

3.2 การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ทุกแบบ ทุกชนิด

  • ทำความสะอาด ทั้งส่วนหัว (Head) และฐานรอง (Base) ของ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
  • ทำความสะอาดและขันน็อต Terminal Strip เข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น

4. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station) ทุกแบบ ทุกชนิด

4.1 การตรวจทดสอบสภาพ (Checking & Testing) ของ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ ทุกแบบ ทุกชนิด

  • ตรวจทดสอบการทำงานของอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ ด้วยกุญแจไขทดสอบ หรือดึงคันโยกลง
  • ตรวจทดสอบการคืนค่า (Reset) ของอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ ด้วยกุญแจไขกลับคืนค่า
  • ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทดสอบด้วยกุญแจไข หรือดึงคันโยกลง
  • ตรวจทดสอบการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทำให้เกิดข้อผิดพลาดของระบบ (Trouble)
  • ตรวจทดสอบสภาพโดยรวมของ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ เช่น กระจก หรือ คันโยก หรือปุ่มกด
  • ตรวจทดสอบสายที่เชื่อมต่อ (Wiring) ตรงขั้วต่อ (Terminal Strip) ที่ด้านหลังตัวอุปกรณ์
  • ตรวจทดสอบหลอดดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ถ้ามีบนอุปกรณ์

4.2 การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ ทุกแบบ ทุกชนิด

  • ทำความสะอาด ทั้งด้านหน้า และด้านใน ของ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้
  • ทำความสะอาดและขันน็อต Terminal Strip ที่ด้านหลังอุปกรณ์ โดยเข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น

5. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm Devices) เช่น Bell หรือ Horn หรือ Strobe

5.1 การตรวจทดสอบสภาพ (Checking & Testing) ของ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน ทุกแบบ ทุกชนิด

  • ตรวจทดสอบการทำงานของอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน ด้วยการทดสอบการตรวจจับ
  • ตรวจทดสอบหยุดเสียงแจ้งเตือน ด้วยการกดปุ่มสวิทซ์ (Acknowledge) ที่ตู้ควบคุม
  • ตรวจทดสอบการคืนค่าระบบ ด้วยการกดปุ่มสวิทซ์ (Reset) ที่ตู้ควบคุม
  • ตรวจทดสอบการเกิดข้อผิดพลาดของระบบ (Trouble) จากอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือนที่ตู้ควบคุม
  • ตรวจทดสอบสภาพโดยรวมของ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน เช่น Bell หรือ Horn หรือ Strobe
  • ตรวจทดสอบสายที่เชื่อมต่อ (Wiring) ตรงขั้วต่อ (Terminal Strip) ที่ด้านหลังตัวอุปกรณ์์
  • ตรวจทดสอบความดังเสียงเตือนของอุปกรณ์ Bell หรือ Horn
  • ตรวจทดสอบการกระพริบไฟแฟลชของอุปกรณ์ Strobe
  • ตรวจทดสอบความดังเสียงเตือน กับการกระพริบไฟแฟลชของอุปกรณ์ Horn & Strobe

5.2 การทำความสะอาด (Cleaning) อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน เช่น Bell หรือ Horn หรือ Strobe

  • ทำความสะอาด อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน
  • ทำความสะอาดและขันน็อต Terminal Strip ที่ด้านหลังอุปกรณ์ โดยเข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น

6. การจัดทำรายงาน ผลการตรวจทดสอบเพื่อบันทึกข้อมูลส่งมอบให้กับลูกค้า

  • ในการทดสอบระบบอุปกรณ์ หากพบข้อผิดพลาดที่อุปกรณ์ใดต้องแจ้งแก้ไขหรือเปลี่ยน
  • ทำรายงานบันทึกและสรุปจำนวนอุปกรณ์ที่ทำการทดสอบกับทำความสะอาดทั้งหมด
  • ทำตารางนัดในการเข้าตรวจสอบและทดสอบระบบอุปกรณ์ในครั้งต่อไป
  • การบำรุงรักษาระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ควรทำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ระบบพร้อมทำงาน